Journal of Sports Science and Technology

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 18 of 18
  • Item
    THE EFFECT OF CORE BODY STRENGTH TRAINING COMBINED WITH FLEXIBILITY TRAINING ON 25 METER FRONT CRAWL SPEED SWIMMING
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Nattawat BOONPRAWET; Udorn Ratanapakdi; Jakapong Khaothin
    ABSTRACT\ The study aimed to examine and compare the effectiveness of core body strength training combined with flexibility training on 25 meter front crawl speed swimming.\  Thirty male volunteers as subjects were from grade three students of Satispattana School. Each subject was assessed for 25 meter front crawl speed swimming. The subjects were randomly assigned into 3 different groups, 10 in each. \ One group as the control group who performed their usual activities.\  The experimental group 1 performed core body strength training.\  The experimental group 2 performed core body strength training combined with flexibility training.\  The two experimental groups participated in the training sessions 3 days a week from 3.30-4.30 p.m. for 6 weeks.\  The subjects were assessed for their 25 meter front crawl speed swimming before and after training programs.\  Data were analyzed using mean, standard deviation, matched paired t-test and one-way analysis of variance: ANOVA and multiple comparisons were performed by Tukey at the 0.05 level of significance. \ It was found that core body strength training combined with flexibility training did not significantly change the 25 meter front crawl swimming speed.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 31\–54)\ Keywords:\  \ \ \  core body strength, core body strength with flexibility, physical education program\ ผลการฝึกความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับการฝึกความอ่อนตัวที่มีต่อความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตรบทคัดย่อ\ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลและหาค่าความแตกต่างของการฝึกความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับการฝึกความอ่อนตัวที่มีต่อความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตพัฒนา จำนวน 30 คน ได้มาจากประชากรแล้วนำไปทดสอบความเร็วในการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 \ เมตร แล้วนำมาแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 10 คนด้วยวิธีการจัดเข้ากลุ่ม ทั้ง 3 กลุ่มเรียนพลศึกษาตามปกติทุกกลุ่ม โดยให้กลุ่มควบคุมเรียนพลศึกษา กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกความแข็งแรงของลำตัว กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับการฝึกความอ่อนตัว เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ๆละ 3 วัน คือ วันจันทร์, วันพุธ, วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา15.30-16.30 น. และทดสอบความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตร ของกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 นำผลไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 (matched paired t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดี่ยว (one-way analysis of variance : ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของ Tukey\’s ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05\ ผลการวิจัย\  พบว่า\  หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 ค่าเฉลี่ยของความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตรของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้สาเหตุที่ความเร็วในการทดสอบหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6\  ระหว่างกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกันนั้น อาจจะเป็นเนื่องมาจากวัยของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 อยู่ในช่วงวัย 8 ปี มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในระดับต่ำ จึงทำให้การทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อและประสาทของร่างกายยังน้อยจึงทำให้เด็กในวัยนี้มีกำลังและสามารถที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆได้อย่างกว้างๆ ไม่ประณีตบรรจง ถึงแม้จะได้รับการฝึกเสริมตามโปรแกรมการฝึกก็ตามโปรแกรมการฝึกนี้สร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับช่วงวัยของเด็กด้วยจึงอาจทำให้ผลที่ได้หลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 6 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่จากหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในด้านการพัฒนาความเร็วของกลุ่มตัวอย่างเพราะฉะนั้นการฝึกที่ดีจะต้องมีโปรแกรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้ฝึกด้วยจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ฝึกซึ่งสอดคล้องกับ Anonymous (2005) การฝึกความแข็งแรงของเด็กนั้นจะต้องไม่ใช้น้ำหนักมาก หรือให้ฝึกโดยใช้น้ำหนักตัวของเด็กเอง โดยมีรูปแบบการฝึกที่เหมาะสมและปลอดภัยจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้การฝึกจะต้องฝึกกล้ามเนื้อส่วนลำตัวทุกมัดให้มีความแข็งแรง ทั้งลำตัวด้านหน้า ลำตัวด้านหลัง และลำตัวด้านข้างทั้งสองข้าง จึงจะเกิดความสมดุลในการเคลื่อนไหวหรือออกแรง\ จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการฝึกความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับความอ่อนตัวไม่ส่งผลต่อความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตร การศึกษาวิจัยครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกในด้านอื่นต่อไป\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 31\–54)\ คำสำคัญ:\  ความแข็งแรงของลำตัว/ ความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับความอ่อนตัว/ นักเรียนที่เรียนพลศึกษา\ 
  • Item
    EFFECTS OF STEP AEROBIC DANCE WITH RESISTANCE TRAINING ON HEALTH-RELATED PHYSICAL FITNESS AND LIPID PROFILE LEVEL IN OVERWEIGHT WOMEN
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Yanyong PHANPHENG; Supan SUKAROON; Suwimon SAPVAROBON; Daroonwan SUKSOM
    Abstract\ The purpose of this study was to assess the effects of step aerobic dance with resistance training on health-related physical fitness and lipid profile level in overweight women. Thirty volunteered overweight women (BMI 25\–29.99 kg/m\²) with 30-45 years of age, who were personnel of Chulalongkorn University and participated in Chula sa nga ngam project.\  They were divided into two groups: the aerobic dance group (AD; n=13)\  and the group of step aerobic dance with resistance training (SAR; n=15). The intensity of both exercise programs was set at 60 - 75% of maximum heart rate reserve for 50 minutes per session, 3 times per week for 12 weeks. Before and after training, the values of general physiological data, health-related physical fitness and lipid profile of all participants were recorded. All values were expressed as means and standard deviations. Paired t-test and t-test were used to determine the significant differences (p\<0.05) between before and after training in the same group and between groups of exercise, respectively.\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  The results were as follows:1. After 12 weeks, quadriceps, hamstrings, triceps, and pectoralis muscle strength as well as range of motion of shoulder joint were significantly increased (p\<0.05) in the AD group whereas body weight, heart rate resting, and percentage of body fat were significantly declined (p\<0.05) in the SAR group. In addition, VO2max, all groups of muscle strength and range of motion of shoulder joints of the SAR group were significantly higher (p\<0.05) compared to those before training. 2. After 12 weeks, in both AD and SAR groups, high density lipoprotein level was significantly increased (p\<0.05) but low density lipoprotein level was significantly decreased (p\<0.05) compared to those before training. However, there were no significant differences in cholesterol and triglyceride levels for both groups of exercise.\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  In conclusion, step aerobic dance with resistance training had more benefit in losing weight and improving cardiovascular fitness in overweight people than regular aerobic dance exercise training. \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 103\–126)\ Keywords: \  Step aerobic dance with resistance training/ health-related physical fitness/ lipid profiles/ overweight\ บทคัดย่อ\ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยการเต้นสเตป\ \  แอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านที่มีต่อสุขสมรรถนะและระดับไขมันในเลือดในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการชาวจุฬาสง่างาม เพศหญิง อายุระหว่าง 30-45 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย 25.0-29.99 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่\  กลุ่มที่ 1 ออกกำลังกายด้วยการฝึกเต้นแอโรบิกตามที่โครงการจัดให้อย่างอิสระ จำนวน 13 คน และกลุ่มที่ 2 ออกกำลังกายด้วยการฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้าน ระดับความหนัก\  60-75% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง จำนวน 15 คน ทั้งสองกลุ่มฝึกการออกกำลังกายเป็นระยะเวลา 50 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์\  ก่อนและหลังการทดลอง ทำการเก็บข้อมูลตัวแปรทางสรีรวิทยา สุขสมรรถนะ และระดับไขมันในเลือด นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05ผลการวิจัยพบว่า1. ภายหลัง 12 สัปดาห์\  สุขสมรรถนะของกลุ่มเต้นแอโรบิก ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง และกล้ามเนื้อหน้าอก และมุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่กลุ่มฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก และเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านมีการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทุกส่วน มุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด เมื่อเทียบกับก่อนการฝึกออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.052. ภายหลัง 12 สัปดาห์\  ทั้งกลุ่มเต้นแอโรบิกและกลุ่มฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านมีระดับของระดับไฮเดนซิตี้ไลโปโปรตีนเพิ่มขึ้น และมีระดับโลวเดนซิตี้ไลโปโปรตีนลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการฝึกออกกำลังกาย แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในทั้งสองกลุ่มออกกำลังกายสรุปได้ว่าการเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านมีผลดีต่อการลดน้ำหนัก และเสริมสร้างสมรรถภาพด้านหัวใจและหลอดเลือดของบุคคลผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเต้นแอโรบิก\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 103\–126)\ คำสำคัญ : สเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้าน/ สุขสมรรถนะ/ ไขมันในเลือด/ ภาวะน้ำหนักเกิน\ 
  • Item
    ISOKINETIC PEAK TORQUE AND HAMSTRINGS TO QUADRICEPS STRENGTH RATIO IN BADMINTON PLAYERS
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Chanakarn KOLSIL; Samatchai CHAMNONGKICH
    ABSTRACTIntroduction: Poor knee control from muscle weakness and/or muscle imbalance may place badminton players at greater risk for knee injuries.\  Gender has been reported to be another factor contributing to knee injuries.\  However, there has been no report about sex differences in knee muscle strength and muscle balance in junior badminton players.\  Objective: To examine and compare the knee muscle strength and the hamstrings to quadriceps ratio (H/Q ratio) between female and male junior badminton players.\  Methods: Twenty-one junior badminton players (12 females, 9 males) participated in the study.\  The hamstrings and quadriceps concentric peak torque were obtained from a ConTrex MJ isokinetic dynamometer testing at speed 60\º/sec and 180\º/sec.\  Results: The female group had significantly lesser peak torque of knee muscles than the male group (p\<0.05) except non-dominant quadriceps peak torque at speed 60\º/sec.\  At speed 60\º/sec, peak torque per body mass was ranged from 1.31 \– 2.10, and 1.65 \– 2.46 Nm/kg for female and male groups, respectively.\  At speed 180\º/sec, peak torque per body mass of female and male groups was ranged from 0.98 \– 1.55 and 1.29 \– 1.91 Nm/kg, respectively.\  H/Q ratio of both groups were in the range of 0.63 \– 0.77.\  The female group had significantly lesser H/Q ratio of the non-dominant leg at speed 60\º/sec (p\<0.05).\  Conclusion: Knee muscle strength and H/Q ratios of both genders were within the normal range reported in most athletic population.\  Gender differences in knee muscle strength and H/Q ratio were observed in junior badminton players.\  (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 73\–84)Key words: knee, isokinetic, peak torque, H/Q strength ratio, badminton\ แรงบิดสูงสุดของการหดตัวแบบไอโซคิเนติคและสัดส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าในนักกีฬาแบดมินตันเยาวชน\ ชนากานต์ คลศิลป์ และ สมรรถชัย จำนงค์กิจบทคัดย่อบทนำ กล้ามเนื้ออ่อนแรงและ/หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อข้อเข่า อาจเพิ่มความเสี่ยงการบาดเจ็บต่อข้อเข่าของนักกีฬาแบดมินตัน เพศเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการบาดเจ็บของข้อเข่า อย่างไรก็ตามยังไม่พบรายงานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศต่อความแข็งแรงและความสมดุลของกล้ามเนื้อข้อเข่าในนักกีฬาแบดมินตันเยาวชน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าและสัดส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่า (H/Q ratio) ระหว่างนักกีฬาแบดมินตันเยาวชนเพศหญิงและเพศชาย วิธีการศึกษา นักกีฬาแบดมินตันเยาวชน 21 คน (เพศหญิง 12 คน, เพศชาย 9 คน) เข้าร่วมการทดสอบ ทำการวัดแรงบิดสูงสุดของการหดตัวแบบคอนเซนตริก ของกล้ามเนื้องอเข่าและเหยียดเข่า โดยใช้เครื่อง ConTrex MJ isokinetic dynamometer ที่ความเร็ว 60 และ 180 องศาต่อวินาที ผลการศึกษา กลุ่มนักกีฬาเพศหญิงมีแรงบิดสูงสุดของกล้ามเนื้อข้อเข่าน้อยกว่ากลุ่มนักกีฬาเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p\<0.05) ยกเว้นแรงบิดสูงสุดของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าข้างไม่ถนัดที่ความเร็ว 60 องศาต่อวินาที \ \ ที่ความเร็ว 60 องศาต่อวินาที แรงบิดสูงสุดต่อมวลกายของนักกีฬาเพศหญิงและนักกีฬาเพศชายอยู่ในช่วงตั้งแต่ 1.31 \– 2.10 และ 1.65 \– 2.46 นิวตัน/กิโลกรัม ตามลำดับ\  ที่ความเร็ว 180 องศาต่อวินาที แรงบิดสูงสุดต่อมวลกายของนักกีฬาเพศหญิงและนักกีฬาเพศชายอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.98 \– 1.55 และ 1.29 \– 1.91 นิวตัน/กิโลกรัม ตามลำดับ\  H/Q ratio ของนักกีฬาทั้งสองกลุ่มอยู่ในช่วง 0.63 \– 0.77 กลุ่มนักกีฬาเพศหญิงมีค่า H/Q ratio ของขาข้างไม่ถนัดที่ความเร็ว 60 องศาต่อวินาที น้อยกว่ากลุ่มนักกีฬาเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p\<0.05) สรุปผลการศึกษา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าและ H/Q ratio ของนักกีฬาทั้งสองเพศมีค่าอยู่ในช่วงปกติของนักกีฬาทั่วไป พบความแตกต่างระหว่างเพศในความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าและ H/Q ratio ในนักกีฬาแบดมินตันเยาวชน \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 73\–84)\ คำสำคัญ:\  \  ข้อเข่า, ไอโซไคเนติค, แรงบิดสูงสุด, สัดส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่า, แบดมินตัน\ 
  • Item
    THE EFFECTS OF BASIC MUAYTHAI CHAIYA EXERCISE TRAINING ON HEALTH RELATED PHYSICAL FITNESS IN YOUNG FEMALE ADOLESCENTS
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Werasak HEMHACHART; Jakapong KHAOTHIN; Ratree RUANGTHAI
    ABSTRACT\ The objective of this study was to examine the effects of basic Muay Thai Chaiya exercise training on health related physical fitness in young female adolescents. The participants included 60 healthy young female adolescents who volunteered from Institute of Technology Ayothaya, Pranakhonsriayutthaya, Thailand to participate in this study. All participants were randomly assigned into two groups a training groups and a control group. The training group (n=30) participated in basic Muay Thai Chaiya exercise training three days per week on Monday, Wednesday, and Friday without any change of the exercise or increase other types of exercise during the study. The control group (n=30) did not participate in basic Muay Thai Chaiya exercise training and carried only normal daily activities. Both groups were tested before and after the basic Muay Thai Chaiya exercise training period on body composition, flexibility, muscle strength, muscle endurance and cardiovascular endurance. \ They were selected as testing variables to evaluate the training program. The results of this study showed that participants in the training group performed in body composition, flexibility, muscle strength, muscle endurance and cardiovascular endurance significantly better than those in the control group. It can be concluded that 8 weeks of basic Muay Thai Chaiya exercise training can improve all the components of health related physical fitness in young female adolescents.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 127\–144)\ Keywords: MuayThai Chaiya, physical fitness related on health, female adolescenceบทคัดย่อ\ วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการฝึกท่าบริหารร่างกายพื้นฐานมวยไทยไชยาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในวัยรุ่นเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครหญิง จำนวน 60 คน จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เข้าร่วมทดลองในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการฝึกท่าบริหารร่างกายพื้นฐานมวยไทยไชยาจำนวน 30 คนโดยเข้ารับการฝึกเป็นระยะเวลา จำนวน 3 วัน ต่อสัปดาห์ คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ที่ไม่ได้รับการฝึกโดยใช้ชีวิตประจำวันปกติโดยทั้งสองกลุ่มนี้ได้มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนการฝึกและภายหลังการฝึกตามโปรแกรม โดยมีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คือ การวัดสัดส่วนของร่างกาย การวัดความอ่อนตัว การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การวัดความทนทานของกล้ามเนื้อ และการวัดสมรรถภาพของระบบหัวใจไหลเวียนเลือดผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองในการฝึกท่าบริหารร่างกายพื้นฐานมวยไทยไชยา มีสัดส่วนของร่างกาย ความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ และสมรรถภาพของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดีกว่ากลุ่มควบคุม สรุปได้ว่าในการฝึกท่าบริหารร่างกายพื้นฐานมวยไทยไชยา ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในวัยรุ่นเพศหญิง\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 127\–144)\ คำสำคัญ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  มวยไทยไชยา/ สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ/ วัยรุ่นเพศหญิง\ \ 
  • Item
    THE EFFECTS OF AEROBIC EXERCISE TRAINING ON OXYGEN DEFICIT IN OBESE WOMEN AGED 50-60 YEARS OLD
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Tachawat TANGTRONGKANT; Ratree RUANGTHAI; Apasara ARKARAPANTHU
    ABSTRACT\ The objectives of this research were to compare the effect of aerobic exercise training on the oxygen deficit in obese women. The subjects were 20 obese women \ (BMI 25-35 kg.m-2), personnel of Kasetsart University, Kamphaengsaen Campus, aged 50-60 years old, who volunteered to participate in this research. The subjects were assigned into two groups. Group 1 consisted of 10 subjects who undertook normal daily activities (the control group). Group 2 consisted of 10 subjects who undertook regular walking exercise (the experimental group). The experimental group walked for 12 weeks, with 3 sessions per week, and each session lasting 30 to 45 minutes at an intensity of 50-60%HRR. Both groups carried out a constant workload test of their oxygen deficit. The test was performed before, after the 6th and after the 12th week of training. Data were analysed using an independent t-test and a one-way analysis of variance with repeated measurement at the 0.05 level of significance. The research indicated that the oxygen deficit of the experimental group and the control group after 6th weeks of training was not significantly different at the 0.05 level. However, the oxygen deficits was significantly different at the 0.05 level after 12th week of training (0.48+0.07 L and 0.68+0.06 L, respectively). In addition, the oxygen deficit after 12th week of training in the experimental group was significantly different from the oxygen deficit after both 6 weeks of training and before training at the 0.05 level. However, the oxygen deficit of the control group was not significantly different for any of the three periods: before training; after the 6th week; and after the 12th week of training. It was concluded that the decrease in oxygen deficit was potentially influenced by an increase in exercise time and by an increased metabolic rate.\ \ \ \  \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 85\–101)\ Key words: Obese Women, Oxygen Uptake Kinetics, Oxygen Deficit, Aerobic Exerciseบทคัดย่อ\ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่มีต่อค่า ออกซิเจนเด็ฟฟิซิทในผู้หญิงอ้วน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครที่เป็นบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพศหญิง อายุระหว่าง 50-60 ปี มีค่าดัชนีมวลกาย 25-35 kg.m-2 จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 10 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติ และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลองฝึกเดินอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30-45 นาที ที่ระดับความหนัก 50-60%HRR โดยทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการทดสอบออกกำลังกายที่ระดับความหนักของงานคงที่ (constant workload test) เพื่อหาค่าออกซิเจนเด็ฟฟิซิท ทั้งก่อนทำการทดลอง ภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 และภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 จากนั้นนำผลการทดลองมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Independent t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มและใช้สถิติ one-way analysis of variance with repeated measures ในการวิเคราะห์ข้อมูลภายในกลุ่ม ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าออกซิเจนเด็ฟฟิซิทระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p\>0.05) แต่ภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p\<0.05) (0.48+0.07 L และ 0.68+0.06 L ตามลำดับ) นอกจากนี้ ภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 พบว่า ค่าออกซิเจนเด็ฟฟิซิทของกลุ่มทดลอง แตกต่างจากภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 และก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p\<0.05) ส่วนภายในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p\>0.05) ระหว่างก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 และ 12 ผลการวิจัยนี้ สรุปได้ว่าค่าออกซิเจนเด็ฟฟิซิทในผู้หญิงอ้วนลดลง อาจทำให้เพิ่มระยะเวลาในการเดินออกกำลังกายได้นานขึ้นและเผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น(J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 85\–101)คำสำคัญ: ผู้หญิงอ้วน, คิเนติคของการใช้ออกซิเจน, ออกซิเจนเด็ฟฟิซิท, การออกกำลังกายแบบแอโรบิค\ 
  • Item
    EFFECTS OF EXERCISE TRAINING BETWEEN SMALL SIDE GAME AND SPORT-SPECIFIC EXERCISE ON AEROBIC AND ANAEROBIC FITNESS IN SOCCER PLAYERS
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Worasit SEABURIN; Ratree RUANGTHAI; Thyon CHENTANEZ
    ABSTRACT\ The purpose of this research was to study the effects of exercise training between small side game and sport-specific exercise on aerobic and anaerobic fitness. Thirty male subjects aged 18-22 years old, who were football players at Mahidol University. They were\  randomly assigned into three experimental groups with 10 subjects in each group. The first experimental group performed continuous training while the second experimental group performed small side game training and the third experimental group performed sport-specific exercise training. Subjects were trained 3 days per week for 8 weeks. All subjects were tested for the maximal oxygen consumption (VO2max).\  Muscle strength test was done with isokinetics dynamometer, running time in 30 meters (sec), Illinois agility test and muscle power test. Data were analyzed using mean, standard error and one-way ANOVA. Multiple comparisons were performed using the Tukey method at the 0.05 level of significance.The results of this study showed that the maximal oxygen consumption and peak torque of knee extension after eight weeks of training were not significantly different among the three groups. However, peak torque of knee flexion in small side game group and sport-specific exercise group were significantly different (p \< 0.05) from continuous training group. In addition, ratio of knee flexion and extension, running time in 30 meter, Illinois agility test, and muscle power test in small side game group were significantly different (p \< 0.05) from continuous training group. There were no significant difference between small side game group and sport-specific exercise group. Moreover, the effects of the three types of exercise training on maximal oxygen consumption (VO2max) and peak torque of knee flexion after eight weeks were significantly different (p \< 0.05) from pre-training. In addition, running time in 30 meter, Illinois agility test, and muscle power test in small side game group and sport-specific exercise group after eight weeks were significantly different (p \< 0.05) from pre-training. The results of the effects of exercise training of small side game and sport-specific exercise were on increasing both aerobic and anaerobic fitness in soccer players. The findings will be useful for the training of improving aerobic and anaerobic fitness in soccer players as well.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 55\–72)\ Key words:\  aerobic fitness, anaerobic fitness, soccer players, agility testผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล\ วรศิษฏ์\  ศรีบุรินทร์1, ราตรี\  เรืองไทย1, ไถ้ออน\  ชินธเนศ2บทคัดย่อ\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลทีม มหาวิทยาลัยมหิดล เพศชาย มีอายุระหว่าง 19-22 ปี จำนวน 30 คน ทดสอบสมรรถภาพทางด้านแอโรบิค คือ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และทดสอบสมรรถภาพทางด้านแอนแอโรบิค คือ ความแข็งแรงเชิงมุมของกลุ่มกล้ามเนื้องอเข่าและเหยียดเข่า ระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และ กำลังของกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังให้โปรแกรมการฝึก โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกแบบต่อเนื่อง กลุ่มที่ 2 ทำการฝึกแบบเกมสนามเล็ก และ กลุ่มที่ 3 ทำการฝึกแบบเฉพาะเจาะจง ทั้ง 3 กลุ่มฝึกร่วมกับโปรแกรมฝึกซ้อมฟุตบอลตามปกติ ทำการฝึก 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA) และทำการเปรียบเทียบภายในกลุ่ม match paired t-test ก่อนการฝึกและหลังการฝึก โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่พบว่า ความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้องอเข่าของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มฝึกแบบต่อเนื่อง และ อัตราส่วนความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้อ (งอเข่า/เหยียดเข่า) ระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และกำลังของกล้ามเนื้อของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็กมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มฝึกแบบต่อเนื่อง และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้พบว่าผลของการฝึก 8 สัปดาห์มีผลทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้องอเข่าของทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากก่อนการฝึก ส่วนระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และกำลังของกล้ามเนื้อภายหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากก่อนการฝึกจากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจง มีผลต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิค การศึกษาวิจัยครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอลต่อไป\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 55\–72)\ คำสำคัญ:\  สมรรถภาพด้านแอโรบิค, สมรรถภาพแอนแอโรบิค, นักกีฬาฟุตบอล, ความคล่องแคล่ว\ 
  • Item
    HEALTH BEHAVIOR OF PRIMARY SCHOOL STUDENTS WITH OVER-NUTRITIONAL STATUS: A CASE STUDY IN NAKORN PATHOM PROVINCE
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Pannipa TEERAKATHITI; Kittipong POONCHOB; Metta PINTHONG
    ABSTRACT\ The purpose of this study was to investigate health behavior of Primary School students with over-nutritional status and associations between health behavior, exercise behavior and Body Mass Index-Age (BMI-Age) categories. The sample consisted of 451 primary school students with over-nutritional status at Nakornpathom Province. Body mass index adjusted for age and sex according to the CDC (Centers for Disease Control) reference was used to classify children into two groups; overweight and at-risk-of-overweight. Proportional stratified sampling was conducted and data were taken from questionnaires. Results: Results revealed that overweight children had the average body weight, height and body mass index higher than children with at-risk-of-overweight with statistical significance. Regarding eating behavior, it was found that overweight children had frequency scores of eating breakfast lower than children with at-risk-of-overweight status. However, fried food, high-fat food and energy-dense snack food intakes between these two groups were not different. The association between the level of over-nutritional status and eating dinner and after dinner meals was shown. Overweight children consumed the largest meal of the day at dinner and at night more than children with at-risk-of-overweight (56.8 percent vs. 43.3 percent). Two-thirds of the media influencing dietary intake behavior of children in both groups were television advertising. Regarding physical exercise behavior, overweight children had lower scores on exercise behavior compared to those of children with at-risk-of-overweight status. Significant association between regular exercise and the level of over-nutritional status was identified. The proportion rates of overweight and at risk of overweight children exercising at least three times per week and a minimum of 20 minutes each time on a regular basis were only 4.7 percent vs. 21.6 percent and 9.8 percent vs. 29.1 percent, respectively. Overweight children reported participation in exercise on a regular basis less than the children with at-risk-of-overweight with statistical significance. Conclusion: It was concluded that children with over-nutritional status had inappropriate eating behavior and took regular exercise less than the recommended physical activity guideline. Importantly, the inappropriate behavior was highly shown in the severely obese group.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 275\–286)\ Keywords: \ Body Mass Index, Primary School Students, Health Behaviorบทคัดย่อ\ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายกับระดับภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน รวม 451 คน จังหวัดนครปฐม ใช้ค่าดัชนีมวลกายปรับตามอายุและเพศ (Body Mass Index-Age: BMI-Age) จำแนกระดับภาวะโภชนาการเกินเป็นกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักเกินและกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อน้ำหนักเกิน ตามค่าอ้างอิง CDC (Centers for Disease Control) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มเลือกนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินตามสัดส่วนแบบชั้นภูมิ\  (Proportional Stratified Sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผลการวิจัยพบว่าเด็กนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ส่วนสูง และดัชนีมวลกายสูงกว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีความถี่ของการบริโภคอาหารมื้อเช้าต่ำกว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อน้ำหนักเกิน แต่พฤติกรรมการบริโภคของทอด ของมัน และขนมขบเคี้ยวบรรจุห่อของเด็กทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานอาหารมื้อเย็นและมื้อดึกเป็นมื้อหนักมีความสัมพันธ์กับระดับภาวะโภชนาการเกิน โดยเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีพฤติกรรมการรับประทาน อาหารมื้อเย็นและมื้อดึกเป็นมื้อหนักมากกว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อน้ำหนักเกิน (ร้อยละ 56.8 ต่อ ร้อยละ 43.3) \ สองในสามของสื่อโฆษณาที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กทั้งสองกลุ่มคือสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์\  เกี่ยวกับการออกกำลังกายพบว่าเด็กกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีคะแนนพฤติกรรมการออกกำลังกายต่ำกว่ากลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อน้ำหนักเกิน นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายเป็นประจำกับระดับภาวะโภชนาการเกิน\ \ \  โดยเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อน้ำหนักเกิน ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 20 นาทีเป็นประจำ ร้อยละ 4.7 ต่อ ร้อยละ 21.6\ \  และ ร้อยละ 9.8 ต่อ ร้อยละ 29.1 ตามลำดับ\ \  เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินออกกำลังกายเป็นประจำน้อยกว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อน้ำหนักเกินอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และส่วนใหญ่มีสัดส่วนการออกกำลังกายเป็นประจำที่ต่ำกว่าแนวทางปฏิบัติมาตรฐาน สิ่งสำคัญคือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวนั้นพบได้สูงในกลุ่มเด็กที่มีระดับภาวะโภชนาการเกินที่รุนแรงมากขึ้น \ \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 273\–286)\ คำสำคัญ\  ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index), นักเรียนระดับประถมศึกษา, พฤติกรรมสุขภาพ\ 
  • Item
    DEVELOPMENT OF CHILDREN’S BODY IMAGE PERCEPTION MEASUREMENT FOR THAI CHILDREN
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Amnuay TANPHANICH; Naruepon VONGJATURAPAT
    Abstract\ Measurement of the \ body shape was important to assess behavior differences, and to learn about exercise, social behavior in Thai children. This study aimed to use the measurement from Truby and Paxton (2002, 2008) especially The Children\’s Body Image Scale: CBIS (Truby \& Paxton, 2002). Translation was used before administration to 80 Thai children between 11-13 years of age (12.1 years, SD = 0.82). The second test was done a week after the first one. The statistical analysis for test-retest reliability of body image perception Thai version was high (r = 0.78, boys r = 0.77, girl r = 0.79, p\<0.01) and the validity (r = 0.86, p\<0.01) with body mass index (BMI) was also high. The result indicated that this measurement can be used with Thai children for their perception of body image. \ \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 287\–302)\ Key words: Thai children, body image perception, body size, body mass indexบทคัดย่อ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  การประเมินว่าตัวเองมีรูปร่างอย่างไร เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมการออกกำลังกายและเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมแตกต่างกันไป ดังนั้นเพื่อประเมินการรับรู้รูปร่างตัวเองของเยาวชนไทย และช่วยให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกายและอยู่ร่วมในสังคมได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมิน โดยใช้หลักการประเมินของ Truby and Paxton (2002, 2008) เป็นแนวทางโดยนำเอาแบบประเมินภาพลักษณ์ทางกายของเด็ก (The Children\’s Body Image Scale: CBIS; Truby \& Paxton, 2002) มาแปลและนำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กอายุระหว่าง 11-13 ปี ( = 12.1 ปี, SD = 0.82) กลุ่มตัวอย่างทำการประเมินภาพลักษณ์ทางกายของตนเอง 2 ครั้ง ที่มีระยะเวลาต่างกัน 1 สัปดาห์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แบบวัดซ้ำ (test-retest reliability) พบว่าแบบประเมินการรับรู้ภาพลักษณ์ทางกาย มีค่าความเชื่อมั่นในระดับสูง (r = 0.78; ชาย = 0.77 และหญิง = 0.79, p\<0.01) และมีค่าความเที่ยงตรงในระดับสูง (r = 0.86, p\<0.01) กับค่าดัชนีมวลกาย ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า แบบประเมินการรับรู้ภาพลักษณ์ทางกายของเด็ก ฉบับภาษาไทยนี้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินเด็กไทยได้เป็นอย่างดี และสามารถนำไปใช้เพื่อให้เด็กไทยตระหนักต่อการรับรู้รูปร่าง เพื่อให้เกิดการดูแลและส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อไปได้ \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 287\–302)\ คำสำคัญ: เด็กไทย, การรับรู้ภาพลักษณ์ทางกาย, ขนาดรูปร่าง, ดัชนีมวลกาย\ 
  • Item
    EFFECTS OF PIVOT POINT ON TENNIS SHOE TREAD PATTERNS ON PLANTAR PRESSURE DURING GROUNDSTROKE SHOTS
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Somruthai POOMSALOOD; Pasakorn WATANATADA; Suwat SIDTHILAW
    ABSTRACT\ The objective of the study was to compare the plantar pressure on the pivot point area between wearing tennis shoes with herringbone pattern (HP) and tennis shoes with the herringbone pattern with pivot point (HPP) in tennis players when changing direction during groundstroke shots. The participants in this study were 5 Thai male tennis players whose skill levels were 5.0 classified by National Tennis Rating Program (NTRP) criteria. All the players wore 2 types of tennis shoes and performed groundstroke shots on the hard court surface. Peak pressure was recorded by the F-Scan insole during the experiment. The results demonstrated that there was a statistically significant difference in peak pressure on the pivot point area of forehand steps between 2 types of shoes worn by the tennis players. The shoe type with pivot point caused higher plantar pressure than the one without pivot point (760.54 \± 253.17 KPa (HP); 866.82 \± 233.52 KPa (HPP), p\<0.05). On the other hand, there was no difference in pressure on the pivot point area between wearing the tennis shoes with HP and wearing the tennis shoes with HPP when performing square stance backhand steps (117.80 \± 109.42 KPa (HP); 115.61 \± 82.79 KPa (HPP)) and open stance backhand steps (502.10 \± 173.01 KPa (HP); 511.76 \± 174.22 KPa (HPP)).\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 1\–16)\ Keywords: Tennis shoes, Tread pattern, Plantar pressure, Groundstroke\ บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงกดฝ่าเท้าที่บริเวณจุดหมุนของรองเท้า (Pivot point area) ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ตรงกับส่วนของกระดูก 1st metatarsal เป็นส่วนใหญ่ ระหว่างการใส่รองเท้าเทนนิสที่มีลายพื้นแบบฟันปลา (Herringbone pattern) และรองเท้าเทนนิสที่มีลายพื้นแบบฟันปลากับจุดหมุน (Herringbone pattern with pivot point) ในนักเทนนิสขณะวิ่งเข้าตีลูกท้ายคอร์ท ซึ่งนักเทนนิสชายไทยที่เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 5 คน มีทักษะการตีเทนนิสอยู่ที่ระดับ 5.0 โดยอาศัยเกณฑ์การจัดระดับของ National Tennis Rating Program (NTRP) โดยนักเทนนิสแต่ละคนต้องใส่รองเท้าทั้ง 2 แบบ แล้วทำการตีลูกท้ายคอร์ทตามรูปแบบที่กำหนดให้ แรงกดฝ่าเท้าถูกบันทึกโดยอุปกรณ์ F-Scan insole ผลการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของแรงกดฝ่าเท้า (Peak pressure) ของก้าวโฟร์แฮนด์ระหว่างการใส่รองเท้าทั้ง 2 แบบ โดยรองเท้าเทนนิสที่มีลายพื้นแบบฟันปลากับจุดหมุนทำให้เกิดแรงกดฝ่าเท้าที่บริเวณจุดหมุนของรองเท้าสูงกว่ารองเท้าเทนนิสที่มีลายพื้นแบบฟันปลา (760.54 \± 253.17 KPa (ฟันปลา); 866.82 \± 233.52 KPa (จุดหมุน), p\<0.05) แต่ในทางกลับกันพบว่าไม่มีความแตกต่างของแรงกดฝ่าเท้าของก้าวแบคแฮนด์ทั้งแบบ Square stance (117.80 \± 109.42 KPa (ฟันปลา); 115.61 \± 82.79 KPa (จุดหมุน)) และ Open stance (502.10 \± 173.01 KPa (ฟันปลา); 511.76 \± 174.22 KPa (จุดหมุน)) ระหว่างการใส่รองเท้าทั้ง 2 แบบ\ 
  • Item
    EFFECTS OF DIFFERENT RECOVERY METHODS ON LACTIC ACID REMOVAL, HEART RATE AND BLOOD PRESSURE AFTER 800 METERS RUN IN MALE BASKETBALL PLAYERS.
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Krittapol PITTHACHAI; Pratoom MUONGMEE; Pairat WONGNAM
    ABSTRACT\ The purpose of this research was to examine the effects on lactic acid removal, heart rate and blood pressure by various recovery methods, namely modified Thai traditional massage, passive stretching, active movement and sitting after 800 meter run. Participants were purposively selected from 12 male basketball players of Burapha University, aged between 18-22 years. Each player went through the 4 recovery methods on four different days after 800 meter run for one week apart.\  Heart rate, blood pressure measurements and blood test for lactic acid level were done at rest before the running immediately after the running and again at three different times, e.g. 5th, 10th, 15th minute during recovery. All data were analyzed for two-way repeated measurement- ANOVA. Statistical significance was set at 0.05. The data were analyzed by statistical package, SPSS for windows. Results showed that sitting and active movement during recovery induced lactic acid removal in blood faster than modified Thai traditional massage and passive stretching. Sitting and passive stretching recovery decreased heart rate faster than recovery with modified Thai traditional massage. Sitting and passive stretching recovery decreased systolic blood pressure faster than recovery with active movement. Sitting and active movement recovery may be better than recovery with modified Thai traditional massage and passive stretching. The results found may lead to the conclusion that sitting and active movement recovery may be better recovery methods than the other two types of recovery in terms of blood lactate removal, reduction of heart rate and blood pressure.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 145\–161)\ Keywords: lactic acid, heart rate, massage, stretching, recovery บทคัดย่อ\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฟื้นตัวต่างแบบที่มีต่อการเคลื่อนย้ายกรดแล็กติก อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ภายหลังจากการวิ่ง 800 เมตรในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง \ เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชาย มหาวิทยาลัยบูรพา อายุ 18-22 \ ปี\  จำนวน\  12\  คน\  ทุกคนได้รับการฟื้นตัวแบบการนวดแบบไทยประยุกต์ การเหยียดกล้ามเนื้อแบบแพสสีพ การเคลื่อนไหวด้วยตัวเองและการนั่งพัก ในแต่ละแบบใช้เวลา 5 นาที ทำการเจาะเลือดเพื่อหาปริมาณกรดแล็กติก วัดอัตราการเต้นของหัวใจ และวัดความดันโลหิต ก่อนและหลังวิ่ง 800 เมตร ภายหลังการฟื้นตัวนาทีที่ 5\  10 และ 15\  ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way Repeated Measurement: ANOVA) \ ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของนิวแมน- คูลส์\  (Newman-Keuls)\  และกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  ผลการศึกษาพบว่าผลของการฟื้นตัวแบบการนวดแบบไทยประยุกต์ การเหยียดยืดกล้ามเนื้อแบบแพสสีพ การเคลื่อนไหวด้วยตัวเองและการนั่งพัก ที่มีต่อการเคลื่อนย้ายกรดแล็กติกในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่แล้วพบว่า การฟื้นตัวแบบการนั่งพักและการเคลื่อนไหวด้วยตัวเองมีผลทำให้การเคลื่อนย้ายกรดแล็กติกในเลือดดีกว่าการนวดแบบไทยประยุกต์และการเหยียดยืดกล้ามเนื้อแบบแพสสีพ \ \ การนั่งพักและการเหยียดยืดกล้ามเนื้อแบบแพสสีพมีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงดีกว่าการนวดแบบไทยประยุกต์ และการนั่งพักและการเหยียดยืดกล้ามเนื้อแบบแพสสีพมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงดีกว่าการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ในการวิจัยครั้งนี้ทำให้สามารถสรุปได้ว่าการนั่งพักและการคลื่อนไหวด้วยตัวเอง เป็นการฟื้นตัวที่ดีกว่าการนวดแบบไทยประยุกต์และการเหยียดยืดกล้ามเนื้อแบบแพสสีพ\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 145\–161)\ คำสำคัญ:\  \ \ \ \ \  กรดแลคติก, อัตราเต้นหัวใจ, การฟื้นตัว, การนวด, การเหยียดกล้ามเนื้อ\ \ 
  • Item
    EFFECTS OF AQUATIC EXERCISE UPON RANGE OF MOTION IN FEMALE PATIENTS WITH TOTAL KNEE REPLACEMENT DURING EARLY PHASE
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Kritsadee SURIYO
    ABSTRACT\ \ \ \  \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  The purposes of this research were to study and compare the percent change of the range of motion between the aquatic exercise and the continuous passive movement (CPM) exercise in female patients with the total knee replacement (TKR)\  during early phase. The subjects comprised 20 volunteers, aged 51-75 years from patients with the total knee replacement of Somdejprapinklao Hospital. They were assigned into two groups of 10. \ Group 1 had the aquatic exercise, and group 2 had the CPM exercise. The subjects were measured the range of knee flexion, the circumference of\  knee, the level of pain before and after performing the exercise on the third, fourth, and the fifth day of surgery.\  Data were analyzed by using\  percent\  change,\  and\  independent t-test\  with\  a significant\  level of 0.05The comparison results of group1 and group2 were significantly different (p \≤ 0.05) in the percent change of the range of knee flexion on the third and the fourth day of surgery, the percent change of circumference the fifth day of surgery and the percent change of pain on the third day of surgery. In conclusion, these investigations show that the response of aquatic exercise (active exercise) can increase the range of knee flexion, reduce the knee circumference, and reduce the level of pain better than the CPM exercise.\  The above results may also indicate that the aquatic exercise programs would be useful for patients with the total knee replacement during early phase.(J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 201\–216)Key word: aquatic exercise, total knee replacement, range of motionบทคัดย่อ\ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยร้อยละของการเปลี่ยนแปลงและเปรียบเทียบความแตกต่างของช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าระหว่างกลุ่มการออกกำลังกายในน้ำกับกลุ่มการออกกำลังกายด้วยเครื่องงอเหยียดต่อเนื่อง (Continuous Passive Movement : CPM) ในผู้ป่วยหญิงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระยะแรก เป็นอาสาสมัครที่เป็นผู้หญิงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า อายุระหว่าง 51-75 ปี จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน \ แล้วทำการฝึกตามโปรแกรมฟื้นฟู\  กลุ่มทดลองที่ 1 ให้ออกกำลังกายในน้ำ และกลุ่มทดลองที่ 2 ให้ออกกำลังกายด้วยเครื่อง CPM ทำการบันทึกผลค่าช่วงการเคลื่อนไหวมุมงอข้อเข่า ขนาดเส้นรอบวงข้อเข่า ระดับความรู้สึกปวด ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมทันที ทั้ง 2 กลุ่ม โดยทั้ง 2 กลุ่มเข้าร่วมโปรแกรมหลังผ่าตัดวันที่ 3 4 และ 5 นำผลมาคิดร้อยละของการเปลี่ยนแปลง และวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ independent t-test โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 กับกลุ่มทดลองที่ 2 พบว่าค่าเฉลี่ยร้อยละการเปลี่ยนแปลงของช่วงการเคลื่อนไหวมุมงอเข่าหลังผ่าตัดวันที่ 3 และ 4\  ค่าเฉลี่ยร้อยละการเปลี่ยนแปลงของขนาดเส้นรอบวงข้อเข่าหลังผ่าตัดวันที่ 5\  ค่าเฉลี่ยร้อยละการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกปวดหลังผ่าตัดวันที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05\  การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการออกกำลังกายในน้ำซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบผู้ป่วยออกกำลังกายเอง สามารถเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวมุมงอข้อเข่า\ \ \  ลดขนาดเส้นรอบวงข้อเข่า และลดระดับความรู้สึกปวดได้ดีกว่า ซึ่งผลการทดลองนี้บ่งชี้ว่าการออกกำลังกายในน้ำน่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัดของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระยะแรกได้ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 201\–216)คำสำคัญ: ออกกำลังกายในน้ำ, หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ช่วงการเคลื่อนไหว\ 
  • Item
    EFFECTS OF ASCETIC EXERCISE ON HEALTH RELATED PHYSICAL FITNESS IN FEMALE STUDENTS OF SUKHOTHAI BUSINESS SCHOOL
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Amarin PHUANGPHAE; Jakapong KHAOTHIN; Ratree RUANTHAI
    Abstract\ The objective of this experimental research was to study the effects of ascetic exercise on health related physical fitness in female students of Sukhothai Business School The subjects participated in the research were the students in diploma 2 majoring in Nursing Business, Sukhothai Business School, Dusit, Bangkok. The selection criteria were 30 healthy female students at the age of 17-20 from the simple random sampling method.\  The subjects were divided into 2 groups: the experimental group and the control group. The experimental group practiced 15 positions of ascetic exercise according to the Institute of Thai Traditional Medicine, Ministry of Health (Pennapa 1994) whereas the control group lived their routine lives. The experimental group was required to practice each position 5-10 times and to hold their muscles 5 minutes each time of practicing. The ascetic positions had to be practiced continuously for 30 minutes, 3 times a week: Monday, Wednesday, Friday from 16:30-17:00. The exercise was practiced for 8 weeks. The experimented group was tested before ascetic exercising on health related physical fitness and in the fourth week of the experimentation. In the 8th week, effects of ascetic exercise on health related physical fitness were analyzed.\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  \  It was found that the average of body composition, flexibility, muscle strength and endurance and cardiovascular endurance of the experimental group was statistically different from the control group after the 4th week and 8th week. In conclusion, the ascetic exercise has effects on health related physical fitness and is considered an option for healthy exercise. \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 163\–183)\ Key words: \  Ascetic exercise, Stretching Exercise Health related physical fitness, Female\ \  Students\ บทคัดย่อ\ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกบริหารร่างกายด้วยฤๅษีดัดตนที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในนักศึกษาหญิงโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัย\  คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาธุรกิจสถานพยาบาล โรงเรียนพณิชยการสุโขทัย \ เขตดุสิต\  กรุงเทพมหานคร\  โดยมีเกณฑ์ในการคัดเข้าดังนี้\  เป็นเพศหญิงมีสุขภาพดี อายุระหว่าง\  17-20\  ปี\  จำนวน\  30 คน\  ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย\  (simple random\  sampling )\  แบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง ฝึกบริหารร่างกายแบบท่าฤาษีดัดตน กลุ่มควบคุม ประกอบกิจวัตรประจำวันตามปกติ\  กลุ่มทดลองทำการบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตน\  จำนวน 15 ท่า โดยผู้วิจัยใช้ท่าการบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตน\  15 \ ท่าของสถาบันการแพทย์แผนไทย\  กระทรวงสาธารณสุข\  (เพ็ญนภา, 2537)\  ทำการฝึกท่าละ 5-10\  ครั้ง\  แต่ละท่าเกร็งค้างไว้\ \  5 นาที\  ทำต่อเนื่องเป็นเวลา\  30\  นาที\  โดยการทำการฝึกบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตน\  จำนวน 3 ครั้ง/สัปดาห์\  คือวันจันทร์ พุธ ศุกร์\ \  เวลา 16.30-17.00 น. โดยมาทำการฝึกกับผู้วิจัยทุกครั้ง และทำการบริหารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 8 สัปดาห์นำกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมาทดสอบสมรรถภาพที่สัมพันธ์กับสุขภาพในก่อนการฝึกและสัปดาห์ที่\  4\  และ สัปดาห์ที่ 8\  นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  \ \  ผลการวิจัยพบว่า\  หลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ \ 4 \ และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยความอ่อนตัว\  ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อส่วนบน และความทนทานของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 สรุปได้ว่า การบริหารร่างกายด้วยการฝึกฤาษีดัดตนส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ และเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำไปใช้ออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 163\–183)\ คำสำคัญ : ฤาษีดัดตน, การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ,สมรรถภาพที่สัมพันธ์กับสุขภาพ, นักศึกษาหญิง\ 
  • Item
    FACTORS AFFECTING THAI LONG BOAT VELOCITY
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Pornthep RACHNAVY
    Abstract\ Mathematical modeling is a powerful analysis tool in sports science for studying various dynamics systems, especially in the complicated system of Thai long boats. Therefore, it is an important tool for optimizing the\  effectiveness\  of\  Thai\  long\  boats\  and\  for\  decision making of the coach while on\  training\  and\  competition.\ \ \ \ \ \ \ \ \  The model of the Thai long boat was developed by using the principle of sports biomechanics to describe the dynamics system. Mathematical modeling consists of variables for moving the boat such as paddle size, paddle distance, and drag coefficient. Application of the model is to better understand the factors affecting the Thai long boat for maximum effectiveness. Using MATLAB programming, computer simulation was developed to solve the equations of motion and analysis of factors affecting the Thai long boat velocity such as paddle size and paddling distance. Simulation results indicated that the bigger paddle size and more paddling distance gave more boat velocity.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 17\–29) \ Keywords: paddling style, Thai long boat, optimization\ \ บทคัดย่อ\ การจำลองแบบปัญหาเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยสำหรับทำการศึกษาและวิเคราะห์หาผลลัพธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา\  เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการศึกษาการพายเรือยาวซึ่งเป็นระบบที่มีความซับซ้อน\ การจำลองแบบปัญหาจึงเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ตัวแปรของการพายเรือให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด\ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ฝึกสอนในการฝึกซ้อมและแข่งขัน\ การศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการพายเรือยาวโดยอาศัยหลักการทางด้านชีวกลศาสตร์การกีฬา เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของเรือ ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเรือเช่น ขนาดของใบพาย ระยะทางในการเคลื่อนที่ของใบพาย สัมประสิทธิ์แรงต้านทานเรือ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาและพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพายเรือยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพายที่ต้องการให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จากนั้นจะทำการจำลองปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อหาผลเฉลยของสมการคณิตศาสตร์และทำการวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพายเรือยาว คือ ขนาดของใบพาย ระยะทางการเคลื่อนที่ของใบพาย โดยใช้โปรแกรม MATLAB ผลการศึกษาพบว่า ขนาดใบพายที่ใหญ่ขึ้น ระยะทางการเคลื่อนที่ของใบพายที่มากขึ้น ทำให้ความเร็วของเรือเพิ่มขึ้น \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 17\–29)\ คำสำคัญ: ปัจจัย ผลกระทบ การพาย เรือยาว\ 
  • Item
    EMPLOYEE ENGAGEMENT OF SPORTS AUTHORITY OF THAILAND
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Sanchai KITIYANAN
    Abstract\ The objectives of this research were to study: 1) the level of employee engagement of Sports Authority of Thailand ; 2) factors that related to employee engagement of Sports Authority of Thailand. \ The researcher collected data from 1231 employees of the Sports Authority of Thailand.\  Estimating a Proportion Sampling according to the method of Yamane is used to define the sample size.\  At the 95% level of confidence, the Probability Sampling is used through the technique of stratified random sampling. Finally, 302 questionaires were collected. The samples used in the research involved \ 333 persons. Data were collected by questionnaires and analyzed by computer programs. The statistical methods employed for the research were percentage, mean, standard deviation, Pearson\’s product moment correlation analysis and multiple regression analysis.The findings of the research can be summarized as follows: 1) the total employees of Sports Authority of Thailand and cognitive dimension; emotion dimension and behavior dimension were in high level; 2) the image of organization environment of work and communication to the prediction of all staffs\’ employee engagement of Sports Authority of Thailand at 0.05 statistical significance level and at 52 percent, respectively\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 185\–200)\ Keywords:\  Employee Engagement, Sports Authority of Thailand\ \ บทคัดย่อ\ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน การกีฬาแห่งประเทศไทย\  2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของต่อองค์การพนักงาน การกีฬาแห่งประเทศไทย\  ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากประชากร เจ้าหน้าที่การกีฬาแห่งประเทศไทยจำนวน\  1,231 คน ใช้สูตรคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตรของYamane ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 302 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น สามารถเก็บข้อมูลได้ 333 ชุด เครื่องมือที่ใชในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson\’s product moment correlation) และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)จากผลการศึกษาพบว่า\  1) พนักงาน การกีฬาแห่งประเทศไทยมีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมและความผูกพันต่อองค์การด้านการรับรู\  ความผูกพันต่อองค์การด้านอารมณ์และความผูกพันต่อองค์การด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด\ \  2)\  ภาพลักษณ์ขององค์การ\  บรรยากาศในองค์การ และการสื่อสารในองค์การสามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การโดยรวมของพนักงาน การกีฬาแห่งประเทศไทยไดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ไดร้อยละ 52\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 185\–200)\ คำสำคัญ: ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน, การกีฬาแห่งประเทศไทย\ 
  • Item
    THE PROPHYLACTIC EFFECT OF MASSAGE ON SYMPTOMS OF MUSCLE DAMAGE INDUCED BY ECCENTRIC EXERCISE OF THE WRIST EXTENSORS
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Peanchai KHAMWONG; Ubon PIRUNSAN; Aatit PAUNGMALI
    ABSTRACT:\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  The main purpose of this study was to determine the prophylactic effect of massage on symptoms of muscle damage induced by eccentric exercise of the wrist extensors.\  \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  Twenty-eight healthy males, mean age of 20.8 \± 1.2 yrs, participated in this study.\  A randomized experimental-controlled design was employed.\  Half of the participants were randomly divided into the massage and the control groups.\  Massage was used before eccentric exercise induction in the wrist extensor.\  The exercise was conducted on the non-dominant arm by using an isokinetic device.\  All subjects were tested to examine muscle damage characteristics including sensory-motor functions.\  Sensory-motor functions included pain intensity [Visual Analogue Scale (VAS) and Modified Likert scale (LS), thermal pain threshold [cold pain (CPT)], and mechanical: pressure pain threshold (PPT), range of motion in active wrist flexion (ROM-AF) and extension (ROM-AE), range of motion in passive wrist flexion (ROM-PF) and extension (ROM-PE), grip strength (GS), and wrist extension strength (WES) at baseline, immediate and from 1st to 8th days after the exercise-induced muscle damage. \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  The massage group showed a trend of less pain intensity than that of the control group.\  There were significant differences in ROM-PF and ROM-PE between control and massage groups during the following days of post-exercise (p\<0.05).\  The effectiveness of prior massage on exercise-induced muscle damage (EIMD) demonstrated the reduction of sensory impairment (ROM-PF/PE).\  Massage application prior exercise could be useful for attenuation of a deficit in ROM.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 245\–260)\ Keywords: Prevention, delayed onset muscle soreness, range of motion, strength, pain\ บทคัดย่อ\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้เพื่อประเมินผลของการนวดในการป้องกันอาการบาดเจ็บของกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดข้อมือจากการออกกำลังกายแบบยืดยาวออก \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  อาสาสมัครชายสุขภาพดีจำนวน 28 คน (อายุเฉลี่ย 20.8 + 1.2 ปี) เข้าร่วมการศึกษาในรูปแบบการศึกษาทดลองโดยมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบ ทั้งนี้อาสาสมัครได้รับการสุ่มแยกเงื่อนไขของการศึกษาออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มนวดจำนวนอย่างละเท่าๆ กัน สำหรับกลุ่มนวดนั้นจะได้รับการนวดก่อนที่จะทำการออกกำลังกายแบบยืดยาวออกของกล้ามเนื้อเหยียดข้อมือ ซึ่งทำการศึกษาในแขนข้างที่ไม่ถนัดโดยใช้เครื่องออกกำลังกายไอโซไคเนติก อาสาสมัครทุกคนได้รับการประเมินถึงหน้าที่ในการรับรู้และการทำงานของกล้ามเนื้อ อันได้แก่ ระดับความรู้สึกเจ็บปวดโดยใช้แบบประเมินความเจ็บปวด, ระดับขีดกั้นความเจ็บปวดด้วยอุณหภูมิ, ระดับขีดกั้นความเจ็บปวดด้วยแรงกด, ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อมือ, แรงบีบมือ, และ แรงต้านในการกระดกข้อมือ โดยทำการประเมินทั้งช่วงก่อนการออกกำลังกาย, หลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกายทันที, และหลังจากการออกกำลังกายในวันที่ 1-8\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  พบว่ากลุ่มนวดมีแนวโน้มของอาการปวดจากการออกกำลังกายแบบยืดยาวออกที่น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในช่วงวันที่ทำการประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายใต้ตัวแปรช่วงการเคลื่อนไหวของข้อมือทั้งในทิศกระดกข้อมือขึ้นและลง (p\<0.05) โดยที่การนวดก่อนการออกกำลังกายช่วยลดภาวะบกพร่องของช่วงการเคลื่อนไหวของข้อมือ ซึ่งการนวดก่อนการออกกำลังกายน่าจะเอื้อประโยชน์ในการป้องกันภาวะถดถอยของช่วงการเคลื่อนไหวภายหลังการการออกกำลังกายอย่างหนัก\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 245\–260)\ คำสำคัญ: การป้องกัน, ภาวะปวดระบมจากการออกกำลังกาย, ช่วงการเคลื่อนไหว, ความแข็งแรง, อาการปวด\ 
  • Item
    THE EFFECTS OF THERAPEUTIC ULTRASOUND AND STATIC STRETCHING ON PAIN LEVELS OF UPPER TRAPEZIUS AND RANGE OF MOTION IN NECK LATERAL FLEXION IN TENNIS PLAYERS.
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Pensiri PARSERTSUWAN; Jakapong KHAOTHIN; Prangtip YUVANONT
    Abstract\ The purpose of this study was to examine the effects of the therapeutic ultrasound and static stretching on pain levels of upper trapezius muscles and the range of motion in neck lateral flexion in tennis players. Thirty female tennis players aged 25-40 years were participants of this study, diagnosed to myofacial trigger point in upper trapezius muscles by a medical doctor.\  They were from Ayuttaya Stadium, Ayutttaya Province, Thailand. They were randomly assigned into three treatments.\  \ Group I (n=10) with therapeutic ultrasound and hot pack, static stretching and hot pack in Group II (n=10) with sham ultrasound and hot pack in Group III (n=10) with assessment of pain levels by pain pressure algometer on upper trapezius muscles and assessment of neck rang of motion by goniometer before and after the 10 day treatment phase.The results of this study showed that after the 10 day treatment phase in pain levels of participants in Group I and Group II were significantly lower than those of participants in Groups III. The results of range of motion in neck lateral flexion of participants in Groups I and Group II were significantly higher than participants in Group III. Although, the data of pain levels and range of motion in neck lateral flexion of participants in Groups I were significantly better than those of participants in Group II.In conclusion, the findings of this study suggested that therapeutic ultrasound and static stretching can improve recovery of pain levels of upper trapezius muscles and range of motion in neck lateral flexion in tennis players. However, the therapeutic ultrasound treatment showed a better recovery of the above parameters than the static stretching treatment.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 231\–243)\ Keywords: myofacial pain syndrome ,ultrasound static stretching, trapezius\ \ บทคัดย่อ\ \ \ \ \ \ \ \ \  \ \ \ \ \ \  วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ต้องการตรวจสอบผลการรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ต่อระดับอาการปวดของกล้ามเนื้อบ่าและองศาการเคลื่อนไหวในท่าเอียงคอในผู้เล่นกีฬาเทนนิส กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เล่นกีฬาเทนนิสเพศหญิง จำนวน 30 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อบ่า มีจุดกดเจ็บในบริเวณกล้ามเนื้อบ่าโดยแพทย์ และมีอายุระหว่าง 25-40 ปี จากสนามกีฬาจังหวัดอยุธยา จังหวัดอยุธยา ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจะได้รับการสุ่มเพื่อจัดเข้ากลุ่มให้ได้รับการรักษา 3 รูปแบบ ดังนี้ รักษาด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์และแผ่นประคบร้อนในกลุ่มที่ 1 (n=10) การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่และแผ่นประคบร้อนในกลุ่มที่ 2 (n=10) รักษาด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์โดยไม่เปิดเครื่องในกลุ่มที่ 3 (n=10) ทำการประเมินระดับอาการปวดด้วยเครื่องมือวัดจุดปวดด้วยแรงกดที่มีต่อกล้ามเนื้อบ่าและองศาการเคลื่อนไหวของคอในท่าเอียงคอทำการประเมินด้วยเครื่องมือวัดองศาการเคลื่อนไหวในช่วงก่อนและหลังระยะเวลาการรักษา 10 วัน\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  ผลของการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าหลังระยะเวลาการรักษา 10 วันในระดับอาการปวดของกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางด้านสถิติลดลงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่ 3 ข้อมูลขององศาการเคลื่อนไหวในท่าเอียงคอของกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางด้านสถิติสูงขึ้นกว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่ 3 ถึงแม้ว่าข้อมูลของระดับอาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในท่าเอียงคอของกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่ 1 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางด้านสถิติดีกว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่ 2\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  \ ในการสรุปข้อค้นพบของการศึกษาวิจัยครั้งนี้เสนอแนะเกี่ยวกับผลการรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่สามารถรักษาระดับอาการปวดของกล้ามเนื้อบ่าและองศาการเคลื่อนไหวในท่าเอียงคอในผู้เล่นกีฬาเทนนิส อย่างไรก็ตามผลการรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์แสดงให้เห็นว่าสามารถรักษาระดับอาการปวดของกล้ามเนื้อบ่าและองศาการเคลื่อนไหวในท่าเอียงคอในผู้เล่นกีฬาเทนนิสได้ดีกว่าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 231\–243)\ คำสำคัญ:\ \ \  อาการโรคปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด, การยืดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่กล้ามเนื้อบ่า, อัลตร้าซาวด์ทางกายภาพบำบัด\ 
  • Item
    EFFECTS OF THE 12 WEEK TREADMILL TRAINING WITH WHOLE BODY VIBRATION ON BONE MARKERS IN THAI POSTMENOPAUSAL WOMEN
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Wisaneeya SIWAPITUK; Wasuwat KITISOMPRAYOONKUL
    ABSTRACT\ The objective of this study was to determine the effects of the 12 week treadmill training with whole body vibration on bone markers in Thai postmenopausal women. Forty-six healthy postmenopausal women were enrolled. They were randomized into 2 groups by computerized-generated program. The first group was a treadmill training group (TM). Another group was a treadmill group with whole body vibration (TM + WBV). \ The TM group walked in treadmill with moderate intensity, 30 min/day, 3 days a week, for 12 weeks. \ The TM + WBV group did the same thing as the TM group.\  After that they exercised in the squat position with 20o knee flexion on reciprocating vertical displacement machine (30 Hz, amplitude 4 mm., 1-minute bouts of vibration separated by 1-minute resting period, total 20 minutes). Biochemical bone markers (\β-CrossLabs, PINP, NMID- Osteocalcin), single leg stance with opened eyes, walking speed and physical performances (chair stand, step test and sit and reach test) were measured before and after 12 week training. Forty-three (21 of TM and 22 of TM + WBV) completed the study. Bone resorption and formation markers were significantly increased in both groups after training (p \< 0.05).\  Balance and walking speed were increased in the TM group but decreased in the TM + WBV group. Bone markers, single leg stance with opened eyes, walking speed and physical performance were not significantly different between the TM and TM + WBV groups (ANCOVA, p \> 0.05).\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 217\–230)\ Keywords: \  Postmenopausal, Osteoporosis, Biochemical marker, Whole body vibration, Treadmill training บทคัดย่อ\ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นเป็นเวลา 12 สัปดาห์ต่อการสร้างและการสลายกระดูก ในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนสุขภาพดี จำนวน 46 คน ถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม ๆละ 23 คนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ 1 ออกกำลังกายโดยเดินบนลู่วิ่งสายพานนาน 30 นาที ที่ความหนักปานกลาง กลุ่มที่ 2 เดินบนลู่วิ่งสายพานนาน 30 นาที ร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นต่ออีก 20 นาที (ยืนงอเข่า 20 องศาบนเครื่องสั่น ที่ความถี่ 30 เฮิรตซ์ ช่วงแอมปลิจูด 4 มิลลิเมตร ให้ยืนออกกำลัง 1 นาทีสลับพัก 1 นาที) ทั้ง 2 กลุ่ม ฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการตรวจค่าการสร้างและการสลายกระดูก (Biochemical bone markers) ได้แก่ Telopeptide crosslinked (\β-CrossLabs), N-terminal propeptine of procollagen type I (PINP) และ NMID-Osteocalcin ทดสอบการทรงตัวและความเร็วในการเดิน และทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยทดสอบก่อนและหลังฝึกครบ 12 สัปดาห์ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 43 คน (กลุ่มที่หนึ่ง 21 คน, กลุ่มที่สอง 22 คน) เข้าร่วมการศึกษาครบ 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานเพียงอย่างเดียวและกลุ่มที่ออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นมีการสร้างและการสลายกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 2 กลุ่ม (p \< 0.05) หลังการฝึกครบ 12 สัปดาห์ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยใช้ ANCOVA พบว่า ค่าของการสร้างและการสลายกระดูก ค่าการทรงตัว ความเร็วในการเดินและสมรรถภาพของร่างกายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p \> 0.05) \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 217\–230)\ คำสำคัญ:\  \ \ \  วัยหมดประจำเดือน, โรคกระดูกพรุน, การวัดการสร้างและสลายกระดูก, การออกกำลังกายแบบสั่น, การออกกำลังกายบนลู่สายพาน
  • Item
    SIGNIFICANT FACTORS OF PLANTAR FASCIA THICKNESS IN NORMAL AND FLAT FEET OF FEMALE RUNNERS
    (Journal of Sports Science and Technology, 2011-01-25) Pailin PUAGPRAKONG; Siriporn SASIMONTONKUL; Pimjai SIRIWONGPAIRAT; Warapat VIRAYAVANICH
    Abstract\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  This research aimed to compare the thickness of plantar fascia in normal and flat feet and to observe the possible factors inducing plantar fasciitis. Twenty college runners, aged 17.6 \± 2.48 years, participated in the study. They were divided into two groups, based on \“Navicular height\”, of normal feet and flat feet. Each group consisted of ten runners. For the flat feet group, both feet were diagnosed as flat feet but one foot had a past history of plantar fasciitis. The plantar fascia thickness of both feet were evaluated using high-frequency sonography. To observe factors that might affect the thickness of plantar fascia the following procedures were performed. Subjects ran at a speed of 3.5-4 m/s across a force plate and their feet had to hit on the center of force plate to collect ground reaction force. Then achilles tendon force was evaluated using an isokinetic machine and the peak torque of plantarflexion was reported. Thereafter, two-way ANOVA and one-way ANOVA with repeated measure were applied to the data in order to determine the difference among groups. The statistical significance was set at 0.05. The plantar fascia thickness of the flat feet and normal feet equaled 2.93 \± 0.39 mm and 2.84 \± 0.50 mm, respectively. They were not significantly different. Hence, the abnormal arch and the flat arch do not induce a congenital plantar fascia abnormality. However, tension force from achilles tendon together with a flat arch was the factor that was related to the inflammation and the thickness of the plantar fascia. Therefore, peak torque of the flat feet that had a past history of plantar fasciitis was higher than that of the uninjured flat feet.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 261\–272)\ Keywords : plantar fasciitis, flatfoot, high-frequency sonographyบทคัดย่อ\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความหนาของแผ่นพังผืดฝ่าเท้าในผู้ที่มีอุ้งเท้าปกติกับผู้ที่มีอุ้งเท้าแบน และศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการอักเสบของแผ่นพังผืดฝ่าเท้า โดยทำการศึกษาในนักวิ่งหญิงที่มีอายุเฉลี่ย 17.6 \± 2.48 ปี และเคยเข้าร่วมการแข่งขันในระดับเยาวชนหรือระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่มีอุ้งเท้าปกติ 10 คน และผู้ที่มีอุ้งเท้าแบนทั้งสองข้างจากการตรวจอุ้งเท้าแบบ Navicular height 10 คน สำหรับกลุ่มที่มีอุ้งเท้าแบนจะต้องมีเท้าข้างหนึ่งที่เคยมีประวัติอักเสบและเท้าอีกข้างหนึ่งไม่เคยมีประวัติอักเสบ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มถูกวัดความหนาของแผ่นพังผืดฝ่าเท้าด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (high-frequency sonography) ส่วนแรงกระทำจากพื้นสูงสุดประเมินจากการที่กลุ่มตัวอย่างวิ่งเท้าเปล่าด้วยความเร็ว 3.5-4 เมตรต่อวินาที โดยให้เท้ากระทบกลางแผ่นวัดแรง และแผ่นวัดแรงทำการบันทึกแรงกระทำจากพื้น นอกจากนี้แรงดึงของเอ็นร้อยหวายของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดถูกประเมินด้วย Isokinetic Machine และรายงานผลเป็นทอร์คสูงสุดของเอ็นร้อยหวายขณะถีบปลายเท้าลง จากนั้นนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ทางสถิติแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการวิจัยพบว่า ความหนาของแผ่นพังผืดฝ่าเท้าของผู้ที่มีอุ้งเท้าแบนและผู้ที่มีอุ้งเท้าปกติไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.93 \± 0.39 มิลลิเมตร และ 2.84 \± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ ดังนั้นความผิดปกติของอุ้งเท้าคือ อุ้งเท้าแบนไม่ได้เป็นสาเหตุให้แผ่นพังผืดฝ่าเท้าหนากว่าปกติมาแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังพบว่า แรงดึงของเอ็นร้อยหวายร่วมกับโครงสร้างของอุ้งเท้าที่แบนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบและหนาตัวขึ้นของแผ่นพังผืดฝ่าเท้า เนื่องจากพบว่าในกลุ่มผู้ที่มีอุ้งเท้าแบนทอร์คสูงสุดของเท้าข้างที่เคยมีการอักเสบของแผ่นพังผืดฝ่าเท้ามีค่ามากกว่าทอร์คสูงสุดของเท้าข้างที่ไม่เคยมีการอักเสบของแผ่นพังผืดฝ่าเท้า\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 261\–272)\ คำสำคัญ:\  แผ่นพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ, เท้าแบน, คลื่นเสียงความถี่สูง\ \