ISOKINETIC PEAK TORQUE AND HAMSTRINGS TO QUADRICEPS STRENGTH RATIO IN BADMINTON PLAYERS

No Thumbnail Available
Date
2011-01-25
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Journal of Sports Science and Technology
Abstract
ABSTRACTIntroduction: Poor knee control from muscle weakness and/or muscle imbalance may place badminton players at greater risk for knee injuries.\  Gender has been reported to be another factor contributing to knee injuries.\  However, there has been no report about sex differences in knee muscle strength and muscle balance in junior badminton players.\  Objective: To examine and compare the knee muscle strength and the hamstrings to quadriceps ratio (H/Q ratio) between female and male junior badminton players.\  Methods: Twenty-one junior badminton players (12 females, 9 males) participated in the study.\  The hamstrings and quadriceps concentric peak torque were obtained from a ConTrex MJ isokinetic dynamometer testing at speed 60\º/sec and 180\º/sec.\  Results: The female group had significantly lesser peak torque of knee muscles than the male group (p\<0.05) except non-dominant quadriceps peak torque at speed 60\º/sec.\  At speed 60\º/sec, peak torque per body mass was ranged from 1.31 \– 2.10, and 1.65 \– 2.46 Nm/kg for female and male groups, respectively.\  At speed 180\º/sec, peak torque per body mass of female and male groups was ranged from 0.98 \– 1.55 and 1.29 \– 1.91 Nm/kg, respectively.\  H/Q ratio of both groups were in the range of 0.63 \– 0.77.\  The female group had significantly lesser H/Q ratio of the non-dominant leg at speed 60\º/sec (p\<0.05).\  Conclusion: Knee muscle strength and H/Q ratios of both genders were within the normal range reported in most athletic population.\  Gender differences in knee muscle strength and H/Q ratio were observed in junior badminton players.\  (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 73\–84)Key words: knee, isokinetic, peak torque, H/Q strength ratio, badminton\ แรงบิดสูงสุดของการหดตัวแบบไอโซคิเนติคและสัดส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่าในนักกีฬาแบดมินตันเยาวชน\ ชนากานต์ คลศิลป์ และ สมรรถชัย จำนงค์กิจบทคัดย่อบทนำ กล้ามเนื้ออ่อนแรงและ/หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อข้อเข่า อาจเพิ่มความเสี่ยงการบาดเจ็บต่อข้อเข่าของนักกีฬาแบดมินตัน เพศเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการบาดเจ็บของข้อเข่า อย่างไรก็ตามยังไม่พบรายงานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศต่อความแข็งแรงและความสมดุลของกล้ามเนื้อข้อเข่าในนักกีฬาแบดมินตันเยาวชน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าและสัดส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่า (H/Q ratio) ระหว่างนักกีฬาแบดมินตันเยาวชนเพศหญิงและเพศชาย วิธีการศึกษา นักกีฬาแบดมินตันเยาวชน 21 คน (เพศหญิง 12 คน, เพศชาย 9 คน) เข้าร่วมการทดสอบ ทำการวัดแรงบิดสูงสุดของการหดตัวแบบคอนเซนตริก ของกล้ามเนื้องอเข่าและเหยียดเข่า โดยใช้เครื่อง ConTrex MJ isokinetic dynamometer ที่ความเร็ว 60 และ 180 องศาต่อวินาที ผลการศึกษา กลุ่มนักกีฬาเพศหญิงมีแรงบิดสูงสุดของกล้ามเนื้อข้อเข่าน้อยกว่ากลุ่มนักกีฬาเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p\<0.05) ยกเว้นแรงบิดสูงสุดของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าข้างไม่ถนัดที่ความเร็ว 60 องศาต่อวินาที \ \ ที่ความเร็ว 60 องศาต่อวินาที แรงบิดสูงสุดต่อมวลกายของนักกีฬาเพศหญิงและนักกีฬาเพศชายอยู่ในช่วงตั้งแต่ 1.31 \– 2.10 และ 1.65 \– 2.46 นิวตัน/กิโลกรัม ตามลำดับ\  ที่ความเร็ว 180 องศาต่อวินาที แรงบิดสูงสุดต่อมวลกายของนักกีฬาเพศหญิงและนักกีฬาเพศชายอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.98 \– 1.55 และ 1.29 \– 1.91 นิวตัน/กิโลกรัม ตามลำดับ\  H/Q ratio ของนักกีฬาทั้งสองกลุ่มอยู่ในช่วง 0.63 \– 0.77 กลุ่มนักกีฬาเพศหญิงมีค่า H/Q ratio ของขาข้างไม่ถนัดที่ความเร็ว 60 องศาต่อวินาที น้อยกว่ากลุ่มนักกีฬาเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p\<0.05) สรุปผลการศึกษา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าและ H/Q ratio ของนักกีฬาทั้งสองเพศมีค่าอยู่ในช่วงปกติของนักกีฬาทั่วไป พบความแตกต่างระหว่างเพศในความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าและ H/Q ratio ในนักกีฬาแบดมินตันเยาวชน \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 73\–84)\ คำสำคัญ:\  \  ข้อเข่า, ไอโซไคเนติค, แรงบิดสูงสุด, สัดส่วนความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่าต่อกล้ามเนื้อเหยียดเข่า, แบดมินตัน\ 
Description
Keywords
Citation
Journal of Sports Science and Technology; Vol 10, No 1 July 2010; 73-84