EFFECTS OF EXERCISE TRAINING BETWEEN SMALL SIDE GAME AND SPORT-SPECIFIC EXERCISE ON AEROBIC AND ANAEROBIC FITNESS IN SOCCER PLAYERS

dc.contributor.authorWorasit SEABURINen_US
dc.contributor.authorRatree RUANGTHAIen_US
dc.contributor.authorThyon CHENTANEZen_US
dc.date.accessioned2011-02-21T07:02:43Z
dc.date.available2011-02-21T07:02:43Z
dc.date.created2011-01-25en_US
dc.date.issued2011-01-25en_US
dc.description.abstractABSTRACT\ The purpose of this research was to study the effects of exercise training between small side game and sport-specific exercise on aerobic and anaerobic fitness. Thirty male subjects aged 18-22 years old, who were football players at Mahidol University. They were\  randomly assigned into three experimental groups with 10 subjects in each group. The first experimental group performed continuous training while the second experimental group performed small side game training and the third experimental group performed sport-specific exercise training. Subjects were trained 3 days per week for 8 weeks. All subjects were tested for the maximal oxygen consumption (VO2max).\  Muscle strength test was done with isokinetics dynamometer, running time in 30 meters (sec), Illinois agility test and muscle power test. Data were analyzed using mean, standard error and one-way ANOVA. Multiple comparisons were performed using the Tukey method at the 0.05 level of significance.The results of this study showed that the maximal oxygen consumption and peak torque of knee extension after eight weeks of training were not significantly different among the three groups. However, peak torque of knee flexion in small side game group and sport-specific exercise group were significantly different (p \< 0.05) from continuous training group. In addition, ratio of knee flexion and extension, running time in 30 meter, Illinois agility test, and muscle power test in small side game group were significantly different (p \< 0.05) from continuous training group. There were no significant difference between small side game group and sport-specific exercise group. Moreover, the effects of the three types of exercise training on maximal oxygen consumption (VO2max) and peak torque of knee flexion after eight weeks were significantly different (p \< 0.05) from pre-training. In addition, running time in 30 meter, Illinois agility test, and muscle power test in small side game group and sport-specific exercise group after eight weeks were significantly different (p \< 0.05) from pre-training. The results of the effects of exercise training of small side game and sport-specific exercise were on increasing both aerobic and anaerobic fitness in soccer players. The findings will be useful for the training of improving aerobic and anaerobic fitness in soccer players as well.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 55\–72)\ Key words:\  aerobic fitness, anaerobic fitness, soccer players, agility testผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล\ วรศิษฏ์\  ศรีบุรินทร์1, ราตรี\  เรืองไทย1, ไถ้ออน\  ชินธเนศ2บทคัดย่อ\ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลทีม มหาวิทยาลัยมหิดล เพศชาย มีอายุระหว่าง 19-22 ปี จำนวน 30 คน ทดสอบสมรรถภาพทางด้านแอโรบิค คือ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และทดสอบสมรรถภาพทางด้านแอนแอโรบิค คือ ความแข็งแรงเชิงมุมของกลุ่มกล้ามเนื้องอเข่าและเหยียดเข่า ระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และ กำลังของกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังให้โปรแกรมการฝึก โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกแบบต่อเนื่อง กลุ่มที่ 2 ทำการฝึกแบบเกมสนามเล็ก และ กลุ่มที่ 3 ทำการฝึกแบบเฉพาะเจาะจง ทั้ง 3 กลุ่มฝึกร่วมกับโปรแกรมฝึกซ้อมฟุตบอลตามปกติ ทำการฝึก 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA) และทำการเปรียบเทียบภายในกลุ่ม match paired t-test ก่อนการฝึกและหลังการฝึก โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่พบว่า ความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้องอเข่าของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มฝึกแบบต่อเนื่อง และ อัตราส่วนความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้อ (งอเข่า/เหยียดเข่า) ระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และกำลังของกล้ามเนื้อของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็กมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มฝึกแบบต่อเนื่อง และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้พบว่าผลของการฝึก 8 สัปดาห์มีผลทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้องอเข่าของทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากก่อนการฝึก ส่วนระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และกำลังของกล้ามเนื้อภายหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากก่อนการฝึกจากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจง มีผลต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิค การศึกษาวิจัยครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอลต่อไป\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 55\–72)\ คำสำคัญ:\  สมรรถภาพด้านแอโรบิค, สมรรถภาพแอนแอโรบิค, นักกีฬาฟุตบอล, ความคล่องแคล่ว\ en_US
dc.identifier.citationJournal of Sports Science and Technology; Vol 10, No 1 July 2010; 55-72en_US
dc.identifier.urihttps://imsear.searo.who.int/handle/123456789/131222
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherJournal of Sports Science and Technologyen_US
dc.rightsSports Science Society of Thailand, Mahidol University, Bangkok, Thailanden_US
dc.source.urihttps://thailand.digitaljournals.org/index.php/JSSTMU/issue/archiveen_US
dc.source.urihttps://thailand.digitaljournals.org/index.php/JSSTMU/article/view/4862en_US
dc.titleEFFECTS OF EXERCISE TRAINING BETWEEN SMALL SIDE GAME AND SPORT-SPECIFIC EXERCISE ON AEROBIC AND ANAEROBIC FITNESS IN SOCCER PLAYERSen_US
dc.typeบทความวิจัย (Orginal Article)en_US
Files