Nattawat BOONPRAWETUdorn RatanapakdiJakapong Khaothin2011-02-212011-02-212011-01-252011-01-25Journal of Sports Science and Technology; Vol 10, No 1 July 2010; 31-54http://imsear.searo.who.int/handle/123456789/131221ABSTRACT\ The study aimed to examine and compare the effectiveness of core body strength training combined with flexibility training on 25 meter front crawl speed swimming.\  Thirty male volunteers as subjects were from grade three students of Satispattana School. Each subject was assessed for 25 meter front crawl speed swimming. The subjects were randomly assigned into 3 different groups, 10 in each. \ One group as the control group who performed their usual activities.\  The experimental group 1 performed core body strength training.\  The experimental group 2 performed core body strength training combined with flexibility training.\  The two experimental groups participated in the training sessions 3 days a week from 3.30-4.30 p.m. for 6 weeks.\  The subjects were assessed for their 25 meter front crawl speed swimming before and after training programs.\  Data were analyzed using mean, standard deviation, matched paired t-test and one-way analysis of variance: ANOVA and multiple comparisons were performed by Tukey at the 0.05 level of significance. \ It was found that core body strength training combined with flexibility training did not significantly change the 25 meter front crawl swimming speed.\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 31\–54)\ Keywords:\  \ \ \  core body strength, core body strength with flexibility, physical education program\ ผลการฝึกความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับการฝึกความอ่อนตัวที่มีต่อความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตรบทคัดย่อ\ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลและหาค่าความแตกต่างของการฝึกความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับการฝึกความอ่อนตัวที่มีต่อความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตพัฒนา จำนวน 30 คน ได้มาจากประชากรแล้วนำไปทดสอบความเร็วในการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 \ เมตร แล้วนำมาแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 10 คนด้วยวิธีการจัดเข้ากลุ่ม ทั้ง 3 กลุ่มเรียนพลศึกษาตามปกติทุกกลุ่ม โดยให้กลุ่มควบคุมเรียนพลศึกษา กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกความแข็งแรงของลำตัว กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับการฝึกความอ่อนตัว เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ๆละ 3 วัน คือ วันจันทร์, วันพุธ, วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา15.30-16.30 น. และทดสอบความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตร ของกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 นำผลไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 (matched paired t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดี่ยว (one-way analysis of variance : ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของ Tukey\’s ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05\ ผลการวิจัย\  พบว่า\  หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 ค่าเฉลี่ยของความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตรของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้สาเหตุที่ความเร็วในการทดสอบหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6\  ระหว่างกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกันนั้น อาจจะเป็นเนื่องมาจากวัยของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 อยู่ในช่วงวัย 8 ปี มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในระดับต่ำ จึงทำให้การทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อและประสาทของร่างกายยังน้อยจึงทำให้เด็กในวัยนี้มีกำลังและสามารถที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆได้อย่างกว้างๆ ไม่ประณีตบรรจง ถึงแม้จะได้รับการฝึกเสริมตามโปรแกรมการฝึกก็ตามโปรแกรมการฝึกนี้สร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับช่วงวัยของเด็กด้วยจึงอาจทำให้ผลที่ได้หลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 6 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่จากหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในด้านการพัฒนาความเร็วของกลุ่มตัวอย่างเพราะฉะนั้นการฝึกที่ดีจะต้องมีโปรแกรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้ฝึกด้วยจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ฝึกซึ่งสอดคล้องกับ Anonymous (2005) การฝึกความแข็งแรงของเด็กนั้นจะต้องไม่ใช้น้ำหนักมาก หรือให้ฝึกโดยใช้น้ำหนักตัวของเด็กเอง โดยมีรูปแบบการฝึกที่เหมาะสมและปลอดภัยจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้การฝึกจะต้องฝึกกล้ามเนื้อส่วนลำตัวทุกมัดให้มีความแข็งแรง ทั้งลำตัวด้านหน้า ลำตัวด้านหลัง และลำตัวด้านข้างทั้งสองข้าง จึงจะเกิดความสมดุลในการเคลื่อนไหวหรือออกแรง\ จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการฝึกความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับความอ่อนตัวไม่ส่งผลต่อความเร็วของการว่ายน้ำท่าครอว์ลระยะทาง 25 เมตร การศึกษาวิจัยครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกในด้านอื่นต่อไป\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 31\–54)\ คำสำคัญ:\  ความแข็งแรงของลำตัว/ ความแข็งแรงของลำตัวร่วมกับความอ่อนตัว/ นักเรียนที่เรียนพลศึกษา\ en-USSports Science Society of Thailand, Mahidol University, Bangkok, ThailandTHE EFFECT OF CORE BODY STRENGTH TRAINING COMBINED WITH FLEXIBILITY TRAINING ON 25 METER FRONT CRAWL SPEED SWIMMINGบทความวิจัย (Orginal Article)