Kritsadee SURIYO2011-02-212011-02-212011-01-252011-01-25Journal of Sports Science and Technology; Vol 10, No 1 July 2010; 201-216http://imsear.searo.who.int/handle/123456789/131213ABSTRACT\ \ \ \  \ \ \ \ \ \ \ \ \ \  The purposes of this research were to study and compare the percent change of the range of motion between the aquatic exercise and the continuous passive movement (CPM) exercise in female patients with the total knee replacement (TKR)\  during early phase. The subjects comprised 20 volunteers, aged 51-75 years from patients with the total knee replacement of Somdejprapinklao Hospital. They were assigned into two groups of 10. \ Group 1 had the aquatic exercise, and group 2 had the CPM exercise. The subjects were measured the range of knee flexion, the circumference of\  knee, the level of pain before and after performing the exercise on the third, fourth, and the fifth day of surgery.\  Data were analyzed by using\  percent\  change,\  and\  independent t-test\  with\  a significant\  level of 0.05The comparison results of group1 and group2 were significantly different (p \≤ 0.05) in the percent change of the range of knee flexion on the third and the fourth day of surgery, the percent change of circumference the fifth day of surgery and the percent change of pain on the third day of surgery. In conclusion, these investigations show that the response of aquatic exercise (active exercise) can increase the range of knee flexion, reduce the knee circumference, and reduce the level of pain better than the CPM exercise.\  The above results may also indicate that the aquatic exercise programs would be useful for patients with the total knee replacement during early phase.(J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 201\–216)Key word: aquatic exercise, total knee replacement, range of motionบทคัดย่อ\ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยร้อยละของการเปลี่ยนแปลงและเปรียบเทียบความแตกต่างของช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าระหว่างกลุ่มการออกกำลังกายในน้ำกับกลุ่มการออกกำลังกายด้วยเครื่องงอเหยียดต่อเนื่อง (Continuous Passive Movement : CPM) ในผู้ป่วยหญิงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระยะแรก เป็นอาสาสมัครที่เป็นผู้หญิงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า อายุระหว่าง 51-75 ปี จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน \ แล้วทำการฝึกตามโปรแกรมฟื้นฟู\  กลุ่มทดลองที่ 1 ให้ออกกำลังกายในน้ำ และกลุ่มทดลองที่ 2 ให้ออกกำลังกายด้วยเครื่อง CPM ทำการบันทึกผลค่าช่วงการเคลื่อนไหวมุมงอข้อเข่า ขนาดเส้นรอบวงข้อเข่า ระดับความรู้สึกปวด ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมทันที ทั้ง 2 กลุ่ม โดยทั้ง 2 กลุ่มเข้าร่วมโปรแกรมหลังผ่าตัดวันที่ 3 4 และ 5 นำผลมาคิดร้อยละของการเปลี่ยนแปลง และวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ independent t-test โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 กับกลุ่มทดลองที่ 2 พบว่าค่าเฉลี่ยร้อยละการเปลี่ยนแปลงของช่วงการเคลื่อนไหวมุมงอเข่าหลังผ่าตัดวันที่ 3 และ 4\  ค่าเฉลี่ยร้อยละการเปลี่ยนแปลงของขนาดเส้นรอบวงข้อเข่าหลังผ่าตัดวันที่ 5\  ค่าเฉลี่ยร้อยละการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกปวดหลังผ่าตัดวันที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05\  การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการออกกำลังกายในน้ำซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบผู้ป่วยออกกำลังกายเอง สามารถเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวมุมงอข้อเข่า\ \ \  ลดขนาดเส้นรอบวงข้อเข่า และลดระดับความรู้สึกปวดได้ดีกว่า ซึ่งผลการทดลองนี้บ่งชี้ว่าการออกกำลังกายในน้ำน่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัดของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระยะแรกได้ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 201\–216)คำสำคัญ: ออกกำลังกายในน้ำ, หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ช่วงการเคลื่อนไหว\ en-USSports Science Society of Thailand, Mahidol University, Bangkok, ThailandEFFECTS OF AQUATIC EXERCISE UPON RANGE OF MOTION IN FEMALE PATIENTS WITH TOTAL KNEE REPLACEMENT DURING EARLY PHASEบทความวิจัย (Orginal Article)