EFFECTS OF THE 12 WEEK TREADMILL TRAINING WITH WHOLE BODY VIBRATION ON BONE MARKERS IN THAI POSTMENOPAUSAL WOMEN

No Thumbnail Available
Date
2011-01-25
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
Journal of Sports Science and Technology
Abstract
ABSTRACT\ The objective of this study was to determine the effects of the 12 week treadmill training with whole body vibration on bone markers in Thai postmenopausal women. Forty-six healthy postmenopausal women were enrolled. They were randomized into 2 groups by computerized-generated program. The first group was a treadmill training group (TM). Another group was a treadmill group with whole body vibration (TM + WBV). \ The TM group walked in treadmill with moderate intensity, 30 min/day, 3 days a week, for 12 weeks. \ The TM + WBV group did the same thing as the TM group.\  After that they exercised in the squat position with 20o knee flexion on reciprocating vertical displacement machine (30 Hz, amplitude 4 mm., 1-minute bouts of vibration separated by 1-minute resting period, total 20 minutes). Biochemical bone markers (\β-CrossLabs, PINP, NMID- Osteocalcin), single leg stance with opened eyes, walking speed and physical performances (chair stand, step test and sit and reach test) were measured before and after 12 week training. Forty-three (21 of TM and 22 of TM + WBV) completed the study. Bone resorption and formation markers were significantly increased in both groups after training (p \< 0.05).\  Balance and walking speed were increased in the TM group but decreased in the TM + WBV group. Bone markers, single leg stance with opened eyes, walking speed and physical performance were not significantly different between the TM and TM + WBV groups (ANCOVA, p \> 0.05).\ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 217\–230)\ Keywords: \  Postmenopausal, Osteoporosis, Biochemical marker, Whole body vibration, Treadmill training บทคัดย่อ\ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นเป็นเวลา 12 สัปดาห์ต่อการสร้างและการสลายกระดูก ในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนสุขภาพดี จำนวน 46 คน ถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม ๆละ 23 คนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ 1 ออกกำลังกายโดยเดินบนลู่วิ่งสายพานนาน 30 นาที ที่ความหนักปานกลาง กลุ่มที่ 2 เดินบนลู่วิ่งสายพานนาน 30 นาที ร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นต่ออีก 20 นาที (ยืนงอเข่า 20 องศาบนเครื่องสั่น ที่ความถี่ 30 เฮิรตซ์ ช่วงแอมปลิจูด 4 มิลลิเมตร ให้ยืนออกกำลัง 1 นาทีสลับพัก 1 นาที) ทั้ง 2 กลุ่ม ฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการตรวจค่าการสร้างและการสลายกระดูก (Biochemical bone markers) ได้แก่ Telopeptide crosslinked (\β-CrossLabs), N-terminal propeptine of procollagen type I (PINP) และ NMID-Osteocalcin ทดสอบการทรงตัวและความเร็วในการเดิน และทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยทดสอบก่อนและหลังฝึกครบ 12 สัปดาห์ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 43 คน (กลุ่มที่หนึ่ง 21 คน, กลุ่มที่สอง 22 คน) เข้าร่วมการศึกษาครบ 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานเพียงอย่างเดียวและกลุ่มที่ออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นมีการสร้างและการสลายกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 2 กลุ่ม (p \< 0.05) หลังการฝึกครบ 12 สัปดาห์ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยใช้ ANCOVA พบว่า ค่าของการสร้างและการสลายกระดูก ค่าการทรงตัว ความเร็วในการเดินและสมรรถภาพของร่างกายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p \> 0.05) \ (J. Sports Sci. Technol 2010; 10 (1): 217\–230)\ คำสำคัญ:\  \ \ \  วัยหมดประจำเดือน, โรคกระดูกพรุน, การวัดการสร้างและสลายกระดูก, การออกกำลังกายแบบสั่น, การออกกำลังกายบนลู่สายพาน
Description
Keywords
Citation
Journal of Sports Science and Technology; Vol 10, No 1 July 2010; 217-230